ประชุมสัมมนาแนวทางการบริหารการศึกษา และทิศทางในการขับเคลื่อนการศึกษา SDGs

 13 ก.ย. 2566 09:59:28      307    |     Share   

 

วันที่ 12-13 กันยายน 2566 สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชุมสัมมนาแนวทางการบริหารการศึกษา และทิศทางในการขับเคลื่อนการศึกษา"SDGs"เป้าหมายที่ 4 (Quality Education การศึกษาที่เท่าเทียม) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมี นางสาวทรงศรี วิระรังษิยากรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นประธานในพิธีเปิดพร้อมบรรยายพิเศษ มีนายอนันต์ จรุงโรจน์รัศมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และนายคมกฤช อภิชัยสรพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นผู้กล่าวรายงานที่มา ความสำคัญและวัตถุประสงค์ของโครงการ มีผู้อำนวยการ สกร.จังหวัด ผู้อำนวย สกร.อำเภอ พร้อมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สกร.จังหวัดในภาคตะวันออกเฉัยงเหนือ เข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมเดอะวัน อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ
สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ มีนโยบายพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และพัฒนาสถานศึกษา ภายในสังกัดฯ ให้ก้าวเข้าสู่คุณภาพและมาตรฐานในการจัดการศึกษาชั้นพื้นฐานที่ใกล้เคียงกันสถาบัน สกร. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียน ของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด ตามที่สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ มอบหมาย มีความตระหนักและเห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์คะแนนสอบ (N-NET) และคะแนนสอบปลายภาคเรียน รายวิซาบังคับ ให้เพิ่มสูงขึ้น สถาบัน สกร.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้ดำเนินการโครงการประชุมสัมมนา ประชุมสัมมนาแนวทางการบริหารการศึกษาและทิศทางในการขับเคลื่อนการศึกษา "ยุคดิจิทัล" เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบชั้นพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2. เพื่อพัฒนาผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ผลสัมฤทธิ์คะแนนสอบปลายภาคเรียน และจำนวนผู้เข้าสอบ หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้เพิ่มสูงขึ้น